ก๊วนชวนอ่าน...นิทาน 5 เรื่องเอก (คลาสสิก) ของโลก อีเมล์
เขียนโดย แม่จา   
เสาร์, 12 กรกฎาคม 2008


Image   Image  
ทำไมต้องอ่าน ?นิทานคลาสสิก? ให้เด็กฟัง
เป็นประเด็นที่ครูชีวัน วิสาสะ พูดในงานเปิดตัว ?นำหนังสือดีสู่เด็กไทย...นิทาน 5 เรื่องเอกของโลก?
ครูชีวัน กล่าวว่า การอ่านหนังสือคลาสสิก เปรียบเหมือนการเดินขึ้นภูเขาสูง  ที่ระหว่างการเดินทางก็มีสิ่งรื่นรมย์ สวยงามให้ดู จึงทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยที่จะเดินไปถึงยอดเขา  และเมื่อถึงยอดเขาสูงเด็กๆก็จะได้เห็นโลกทัศน์ที่กว้างไกล  การอ่านหนังสือธรรมดาก็อาจจะได้เดินขึ้นเขาสูงเหมือนกันแต่อาจจะเป็นภูเขาหัวโล้นที่ไม่จรรโลงใจระหว่างการเดินทาง  หรือเป็นอาจจะภูเขาเตี้ยๆ ที่ไม่ได้ให้แง่คิดเปิดมุมมองอะไรให้กับเด็กๆเพียงแค่อ่านแล้วก็จบไปเท่านั้นเอง ?

โครงการ ?นำหนังสือดีสู่เด็กไทย?  เกิดจากความร่วมมือของมูลนิธิซิเมนต์ไทย และ บริษัท นานมีบุ๊คส์  จำกัด จัดทำหนังสือภาพอมตะของโลก  โดยนักแปลฝีมือระดับคุณภาพของเมืองไทย  5 ท่าน เพื่อให้เด็กไทยมีโอกาสอ่านหนังสือดีที่เด็กทั่วโลกได้อ่าน  และสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเขียนหนังสือเด็กในเมืองไทย  พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือให้แพร่หลาย

Image
คุณสุรนุช  ธงศิลา กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิซิเมนต์ไทย กล่าวว่า ?มูลนิธิซิเมนต์ไทยดำเนินโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ?นำหนังสือดีสู่เด็กไทย? เป็นหนึ่งในโครงการดังกล่าว  ซึ่งมูลนิธิฯได้บรรจงคัดสรรหนังสืออมตะ 5 เรื่อง ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านการศึกษา นักสร้างสรรค์หนังสือเด็กทั่วโลกว่ามีความดีในด้านสาระและมีความงดงามทางศิลปะ  สามารถทำให้เด็กรุ่นต่อรุ่นเกิดความประทับใจมาจัดทำเป็นภาษาไทย  ด้วยความตั้งใจให้หนังสืออมตะ 5 เล่มนี้ จุดประกายให้ผู้ปกครองได้สัมผัสถึงวิธีการใช้หนังสือภาพกับเด็กและเห็นผลลัพธ์ จาก ?พลังของหนังสือ? ที่น่ามหัศจรรย์  โดยจำหน่ายในราคาพิเศษ  นอกจากนั้นมูลนิธิฯ ยังหวังว่าหนังสือชุดดังกล่าวยังจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานหนังสือเด็กโดยคนไทยให้ทัดเทียมในระดับสากล?

หนังสือที่เปิดตัวในงานนี้มีทั้งหมด 5 เล่ม  ซึ่งในวันเปิดตัวนี้ ( 8 ก.ค. 51)  หนังสือจัดพิมพ์เสร็จ 4 เล่ม  อีกหนึ่งเล่มกำลังอยู่ในขั้นตอนการผลิต  ครอบครัวแม่จาเมื่อได้รับหนังสือชุดนี้ก็นำมาอ่านให้นีร (ลูกสาววัย 5 ย่าง 10 เดือน)และภาม (ลูกชายวัย 3 ขวบ 8 เดือน) ฟังหลังทานอาหารเย็นเสร็จ    ภามเลือก ?คอร์ดูรอย?  และ ?มีหมวกมาขายจ้า?  ส่วนนีร เลือก ?เดินเล่นในป่า?  และ  ?แมวล้านตัว?   ก่อนจะอ่านให้ลูกฟังก็ไม่แน่ใจว่าลูกจะชอบและนั่งฟังจนจบรึเปล่าเพราะ  ?แมวล้านตัว?  และ ?เดินเล่นในป่า? เป็นหนังสือภาพขาวดำ   ปรากฎว่าลูกๆทั้งสองคนนั่งฟังสลับเล่มที่พี่และน้องเลือกกันรวดเดียวจบสี่เล่ม พออ่านจบภามเดินไปหยิบนมดื่มนอนหลับสบายใจ  ส่วนนีรนั่งคุยต่อกับแม่ว่า หนูชอบทุกเล่มแต่ เรื่องแมวล้านตัว หนูชอบที่สุด   แมวล้านตัวไม่ได้เป็นเล่มโปรดแค่ของลูกเท่านั้นแต่ยังเป็นเล่มโปรดของพ่อไก่ และแม่จาด้วย พ่อไก่บอกว่าภาพสวยมากๆ และเนื้อเรื่องก็มีแง่คิดที่ลึกซึ้ง

แมวล้านตัว (Million of cats)
เรื่องและภาพโดย  แวนดา  ก๊อก/   แปลโดย ชีวัน วิสาสะ
ราคา 40 บาท
Image   Image 
?แมวล้านตัว?  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่ พ.ศ. 2498  และยังคงได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องถึงทุกวันนี้  นับว่าเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีอายุยืนที่สุดของอเมริกาที่ยังมีการตีพิมพ์อยู่ในปัจจุบัน  ภาพต้นฉบับใช้หมึกดำสีเดียว  ลายเส้นประณีตและงดงามมาก   แมวล้านตัวได้รับการตีความมากมาย ทั้งทางปรัชญา  ศาสนา  การใช้ชีวิต  ความโลภ  เสียดสีเหน็บแนม  ความเห็นแก่ตัว  และความไร้เดียงสาของมนุษย์ รวมถึงนิยามความเป็นมนุษย์และความงามอันหลากหลาย

ครูชีวันเขียนด้วยลายมือ ในหนังสือไว้ว่า ?แมวล้านตัว?  เป็นหนังสือภาพเล่มแรกๆที่ฉุดข้าพเจ้าเข้าสู่โลกหนังสือเด็ก เมื่อได้รับโอกาสให้แปล Millions of cats จึงเป็นการกลั่นความรู้สึก
...แปล ด้วยความเพียร
...เขียนลายมือ ด้วยหัวใจ
คารวะ ต่อหนังสือเด็กที่ยิ่งใหญ่
ของ แวนดา ก็อก


เดินเล่นในป่า ( In the forest)
เรื่องและภาพโดย  มารี ฮอลล์ เอ็ตส์/   แปลโดย  อริยา  ไพฑูรย์
ราคา 40 บาท
Image    Image

มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นตามสไตล์ของ มารี ฮอลล์ เอ็ตส์ คือการใช้ดินสอเพื่อให้ได้ภาพที่ดูอบอุ่นและอ่อนโยน  หนังสือของเธอทำให้ผู้ใหญ่จำนวนมากที่เคยเชื่อว่าหนังสือเด็กจะต้องมีสีสันมากมายนั้นต้องเปลี่ยนความคิดไป  เพราะหลายเล่มได้รับการพิสูจน์แล้วว่า  หนังสือสำหรับเด็กนั้นไม่จำเป็นต้องมีสีสันสดเจิดจ้าเสมอไป  ถ้าหนังสือเล่มนั้นสามารถสื่อสารกับเด็กๆได้ด้วยเรื่องและภาพที่ดี

อริยา ไพฑูรย์ ผู้แปลหนังสือเล่มนี้ เขียนข้อความไว้ที่ปกหน้าด้านในของหนังสือว่า 
เดินเล่นในป่า...เด็กๆมีโลกจินตนาการของตัวเอง  เป็นโลกส่วนตัวที่บางครั้งผู้ใหญ่ก็เข้าไปไม่ถึง  แต่จะเข้าถึงหรือไม่ก็ไม่สำคัญ  ความเข้าใจต่างหากที่จะนำเด็กออกมาสู่โลกแห่งความจริงได้  เพราะเด็กรู้ว่า เขาจะเข้าไปในโลกจินตนาการของตัวเองเมื่อไรก็ได้  จะออกมาเมื่อไรก็ได้  และทั้งสองโลก  ต่างมีคุณค่าและสำคัญต่อชีวิตของคนเราเท่าเทียมกัน

คอร์ดูรอย (Corduroy)
เรื่องและภาพโดย  ดอน ฟรีแมน/ แปลโดย อัจฉรา ประดิษฐ์
ราคา 50 บาท
Image  Image




ส่วนหนึ่งของบทความที่ผู้แปล เขียนถึงคอร์ดูรอย
?ตอนที่อ่านคอร์ดูรอยครั้งแรก  ดิฉันนึกถึงตุ๊กตาหมีตัวโตตัวหนึ่งที่เคยอยากได้ในวัยเด็ก  แต่ไม่ได้มันมา เพราะแม่บอกว่าราคาแพงเกินไป  ดิฉันคิดว่าเจ้าตุ๊กตาหมีตัวนั้นคงอยากให้มีคนรักมัน  กอดมัน  ในยามที่แปล        คอร์ดูรอย  ดิฉันย้อนนึกถึงตุ๊กตาหมีตัวนั้นและความรู้สึกเสียดายและเสียใจของตัวเอง  ทำให้เข้าใจตัวละครทุกตัวในเรื่อง  ทั้งความอยากเป็นที่รัก  อยากมีคนมารักของตุ๊กตา  ความอยากรักอยากเป็นเจ้าของสิ่งที่ถูกใจของหนูน้อยลิซ่าและข้อจำกัดจากสภาพเศรษฐกิจของแม่เธอที่ทำให้ต้องตัดใจไม่ซื้อคอร์ดูรอย  แต่คอร์ดูรอย ลิซ่า และคุณแม่ล้วนโชคดีที่ความปรารถนาได้รับการตอบสนอง?

คอร์ดูรอย พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2511 ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) และลงสีน้ำ  ทำให้ภาพดูเคลื่อนไหว  มีอารมณ์  และน่าตื่นเต้น  กระทั่งได้รับการกล่าวอย่างชื่นชมว่า  ไม่มีใครแกะไม้ให้ตัวละครมีหน้าตาเกลี้ยงเกลาและแสดงอารมณ์ได้มากเท่าภาพตัวละครในหนังสือเล่มนี้


มีหมวกมาขายจ้า (Caps for sale)
เรื่องและภาพโดย  แอสไฟร์ สโบบ็อคกินา/ แปลโดย  ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์
ราคา 70 บาท
Image  Image

มีหมวกมาขายจ้า เป็นนิทานเก่าแก่ของอินเดีย  ถูกนำมาทำเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กครั้งแรกเมื่อเกือบ 70 ปีมาแล้ว  และยังคงติดอันดับขายดีจนถึงปัจจุบัน   แอสไฟร์ สโลบ็อดกินา  เป็นศิลปินนักออกแบบสามารถทำภาพประกอบได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีอารมณ์ขัน  การออกแบบฉากและตัวละครให้ดูใกล้ชิดกับเด็กๆ   นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าถึงพ่อค้าขายหมวกที่เดินขายหมวกไปตามถนน  พอเหนื่อยจึงนั่งพักงีบหลับที่ใต้ต้นไม้  ระหว่างนั้นฝูงลิงก็มาขโมยหมวกหนีขึ้นไปบนต้นไม้  ไม่ว่าพ่อค้าจะขอคืนด้วยวิธีใด  ฝูงลิงก็เอาแต่ล้อเลียนท่าทางของเขา  จึงต้องตามดูตอนจบเรื่องว่า  ในที่สุดพ่อค้าได้หมวกคืนหรือไม่





เมล็ดแคร็อท  (The Carrot Seed)
เรื่องและภาพโดย  รัธ  เคิร์ส และ คร็อคเก็ท  จอห์นสัน
แปลโดย งามพรรณ  เวชชาชีวะ
กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการจัดพิมพ์ ( 8 ก.ค. 51)
Image Image    

เมล็ดแคร็อท  เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ  เล่าเรื่องง่ายๆ ใช้คำเพียง 101 คำ  แต่มีความลึกซึ้ง  เนื้อหาของเรื่องทำให้เด็กๆ สามารถเข้าใจคำว่า ?อดทน  รอได้? เป็นอย่างดี  Maurice Sandak เจ้าของเรื่องดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย       ยกย่องหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า ?หนังสือภาพเล่มนี้สมบูรณ์แบบจนเรียกว่าเป็นบรรพบุรุษของหนังสือภาพทุกเล่มในสหรัฐอเมริกาก็ว่าได้  มันคือการปฎิวัติเล็กๆ ของหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของการพิมพ์หนังสือภาพสำหรับเด็กไปตลอดกาล?

สุดท้าย ท้ายสุด

Image

เห็นนั่งยิ้มแป้นอยู่คือน้าแต้วของเด็กๆ (ระพีพรรณ พัฒนาเวช) บรรณาธิการ หนังสือทุกเล่มในโครงการนี้ ผู้เคยมีความฝันว่าสักวันอยากให้บ้านเราได้ทำหนังสือคลาสสิกของโลกให้เด็กๆได้อ่าน ให้คนทำหนังสือภาพสำหรับเด็กได้เกิดแรงบันดาลใจทำงานดีๆ  และวันนี้ความฝันของน้าแต้วก็เป็นจริงแล้ว... 
.....คุณพ่อคุณแม่ พร้อมจะหาหนังสือดีๆ  ให้เด็กๆได้ฟัง ได้อ่านหรือยังคะ 

ป.ล. ข้อมูลที่เขียนในบทความนี้มาจากการเสวนาในวันเปิดตัว  บางส่วนคัดลอกจากการวิเคราะห์หนังสือในหนังสือคลาสิกที่แปลแต่ละเล่ม  บางส่วนเป็นการเขียนเพิ่มจากแม่จา  ส่วนภาพหนังสือ The carrot seed คัดลอกมาจาก www.amazon.com

Comments (2) | Add as favourites (629) | Quote this article on your site