เขียนโดย แม่จา
|
อาทิตย์, 15 มิถุนายน 2008 |
กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ มีค่าโปรดอย่าทิ้งเป็นขยะ
กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ที่เด็กๆและครอบครัวดื่มกันเสร็จแล้ว แต่ละบ้าน หรือ แต่ละโรงเรียนเอาไปทำอะไรกัน ทิ้งลงถังขยะคงเป็นคำตอบของคนส่วนมาก ถ้าเด็กๆที่บ้านดื่มนมวันละ 2 กล่องจะมีขยะกล่องนมเดือนละ 60 กล่อง หรือปีละ 720 กล่อง ถ้ามีเด็กในโรงเรียนร้อยคน ดื่มนมวันละ 2 กล่องต่อคน แต่ละเดือนก็จะมีขยะกล่องนมจำนวน(2 กล่อง x 100 คน x 22 วัน) 4,400 กล่อง เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไหมคะ
วันนี้มีทางเลือกดีๆมาให้ช่วยกันคนละไม้คนละมือในการนำกล่องกลับมาใช้ใหม่ค่ะ ขอขอบคุณแม่จุ๋มที่ส่ง อีเมลล์ข้อมูลของชมรมผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม โดยมีบริษัท Tetra Pak ที่ได้ริเริ่มโครงการดี ๆ ให้กับสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วยการรณรงค์ให้นำกล่องกลับมาใช้ใหม่ ข้อมูลและภาพต่อไปนี้คัดลอกมาจากอีเมลล์ที่แม่จุ๋มส่งมาให้ซึ่งเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.thaibcg.com
ทำไมต้องกล่อง? กล่องเครื่องดื่ม หมายถึง กล่องที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม หรืออาหารเหลวประเภทนม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. กล่องยูเอชที มีกระดาษ อะลูมิเนียมฟอยล์ และพลาสติก ประเภทโพลีเอททีลีน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่เย็น 2. กล่องพาสเจอไรซ์ มีส่วนประกอบเป็นกระดาษ และพลาสติก เท่านั้น จึงต้องแช่เย็น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่เก็บไว้ได้นาน
ปัจจุบันกล่องเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติกล่องปลอดเชื้อที่คงคุณค่า และเก็บความสดใหม่ให้กับเครื่องดื่มได้นานถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องใส่วัตถุกันเสีย และไม่ต้องแช่เย็น จึงปลอดภัย สำหรับผู้บริโภคทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่ต้องดื่มนมเป็นประจำ เมื่อไม่ต้องแช่เย็นก็ไม่ต้อง เปลืองค่าไฟ น้ำหนัก กล่องเบายังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการขนส่ง กระดาษซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตกล่อง มาจากสวนป่า ที่ปลูกทดแทนต่อเนื่องพร้อมหมุนเวียนมาใช้ใหม่ (renewable) จึงไม่ต้องทำลายป่าไม้จากธรรมชาติ กล่องเครื่องดื่ม จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึงการนำไปรีไซเคิล ซึ่งไม่มีส่วนใด เหลือทิ้งเป็นขยะเลย
ในแต่ละปีกล่องเครื่องดื่มกว่า 3,000 ล้านใบ ถูกทิ้งไปโดยไม่มีใครรู้ถึงคุณค่า ว่ามันสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ดังนั้น เรามาเป็นผู้บริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บกล่องเครื่องดื่มส่งไปรีไซเคิลกันเถอะ
ประโยชน์ที่ได้จากกล่อง
กล่องเครื่องดื่มที่นำมาผลิตแผ่นไม้กระดาน จะถูกตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะนำมาโรยบนแผ่นเหล็ก เพื่อขึ้นรูปแผ่นตามความหนาที่ต้องการ จากนั้นจำนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณภูมิประมาณ 170 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมพลาสติกที่มีอยู่ในกล่อง แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องอัดเย็น ทั้งนี้ พลาสติกจะเป็นตัวยึดกระดาษและอลูมิเนียมให้ติดกันโดยไม่ต้องใช้กาว หรือสารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิต คุณสมบัติของแผ่นไม้กระดานที่ผลิตจากกล่องเครื่องดื่ม 1. ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ 2. สามารถกันน้ำได้อย่างดี 3. สามารถดัดโค้งและทำเป็นรูปร่างต่างๆได้ตามความต้องการ 4. ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งต่างจาก particleboard หรือ MDF 5. ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลักษณะพื้นผิว 6. เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้อย่างดี 7. สามารถกันปลวกได้ 100% และไม่เป็นผุยผง 8. สามารถเลื่อย ตัด ดัด ติดกาว เจาะและยึดด้วยตะปูได้เช่นเดียวกับแผ่นไม้ชนิดอื่นๆ
นอกจากจะใช้ผลิตกระดาษรีไซเคิลแล้ว กล่องเครื่องดื่มยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น ที่รองแก้ว, ที่วางซีดี, ที่ใส่ของ, กระเป๋า และเครื่องใช้อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ด้านพลาสติกแล้ว สามารถที่จะตอบสนองความต้องการที่จะนำส่วนประกอบเหล่านี้ไปใช้ได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก
รีไซเคิลอย่างไร? การรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มมีหลายทางเลือก แต่ที่แพร่หลายในหลายประเทศ และประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ คือ การแยกเยื่อกระดาษเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการผลิตเป็นแผ่นไม้กระดาน (Green Board) การนำกล่องเครื่องดื่มมาผลิตเป็นไม้กระดาน กล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว จะถูกนำมาตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนที่จะนำมาโรยบนแผ่นเหล็ก เพื่อขึ้นรูปแผ่น ตามความหนาที่ต้องการ จากนั้นจะนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมพลาสติกที่ปนอยู่ แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องอัดเย็น ทั้งนี้ พลาสติกจะเป็นตัวยึดกระดาษและอลูมิเนียมฟอยล์ให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน โดยไม่ต้องใช้กาวหรือสารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิต
คุณสมบัติของ greenboard 1. ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ และมีพื้นผิวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2. กันน้ำได้ดี กันปลวกได้ 100% และไม่เป็นผุยผง 3. เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้อย่างดี 4. ดัดโค้งและทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามความต้องการ 5. สามารถเลื่อย ตัด ดัด ติดกาว เจาะ และยึดด้วยตะปูได้ เช่นเดียวกับแผ่นไม้ชนิดอื่นๆ 6. ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งต่างจาก particlebord หรือ MDF
การแยกเยื่อ เพื่อนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ กล่องที่ใช้แล้ว จะถูกนำมาผ่านกรรมวิธีแยกเยื่อกระดาษออกจากแผ่นโพลีเอททีลีนและอลูมิเนียมฟอยล์ ด้วยถังตีกระดาษ หรือ "Pulpers" ซึ่งเฉลี่ยแล้ว กล่องกระดาษ 1 ตัน จะมีเยื่อกระดาษอยู่ประมาณ 600 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีทั้งหมด ไม่ต้องใช้สารเคมีหรืออุปกรณ์พิเศษใดๆ เนื่องจากเยื่อกระดาษที่นำมาผลิตกล่อง ประกอบด้วยเยื่อใยยาว และเยื่อกึ่งเคมี (CTMP) ที่ไม่เคยใช้งาน มาก่อน (virgin pulp) เยื่อกระดาษเหล่านี้จึงมีความแข็งแรงกว่าเยื่อกระดาษจากกล่องกระดาษเก่า (old corrugated carton boxes) ที่ผ่านการรีไซเคิลมาหลายครั้ง ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ได้มาจากกล่องเครื่องดื่ม เหมาะที่จะนำมาทำเป็น กระดาษกล่องที่ต้องการความแข็งแรงสูง ส่วนพลาสติกและฟอยล์สามารถนำไปทำเป็นอุปกรณ์พลาสติกที่ต้องการ ความแข็งแรง เช่นด้ามจับกระทะ หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลทั่วไป
กล่องที่พับแยกเก็บไว้แล้ว สามารถนำไปหยอดลองถังที่รับกล่องได้ตามจุดเหล่านี้ค่ะ ร้านสะดวกซื้อ (รวมขยะรีไซเคิลใน 1 ถัง) นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ จุดนะคะ สามารถเข้าไปดูรายชื่อได้ที่ link ด้านล่าง บริษัท ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) 50 สาขา บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด (108 shop) 25 สาขา ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการฯ 1. โรบินสัน สาขารัชดา และลาดพร้าว 2. คาร์ฟูร์ 12 สาขาได้แก่ สาขาสุขาภิบาล 3, สุวินทวงศ์, อ่อนนุช, สำโรง, เพชรเกษม, พระราม 4, บางแค, บางบอน, บางปะกอก, อิสรภาพ, รัชดาภิเษก และลาดพร้าว 3. เดอะมอลล์ 6 สาขาได้แก่ สาขารามคำแหง, ท่าพระ, บางแค, บางกะปิ, งามวงศ์วาน และดิเอ็มโพเรียม 4. เซ็นทรัล สาขาวังบูรพา 5. สยามพารากอน 6. บริษัท อิออนไทยแลนด์ จำกัด (จัสโก้) 6 สาขาได้แก่สาขารัชดาภิเษก, ศรีนครินทร์, สุขาภิบาล 1, บางบอน, ประชาอุทิศ และสุขุมวิท 71 7. เซ็นทรัลเวิลด์ 8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด 3 สาขาได้แก่ สาขาลาดพร้าว 95, รามอินทรา และจรัญสนิทวงศ์ 30 9. บิ๊กซี 12 สาขา เข้าไปดูรายละเอียดโครงการได้ตามเว็บนี้ค่ะ http://www.thaibcg.com/ รายชื่อสถานที่ที่รับกล่อง http://www.thaibcg.com/network/network.html ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม 41/27 หมู่ 11 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร: 0-2751-8166, 0-2751-8119, 0-2752-7697 ต่อ 103 แฟกซ์ 107 Email:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
Add as favourites (765) | Quote this article on your site
|