เส้นโค้งแห่งความสุข ผู้แต่ง พระไพศาล วิสาโล ผู้จัดพิมพ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดจำหน่าย บริษัท เคล็ดไทย จำกัด โทร. 0-2225-9536-9 ราคา 120 บาท การมีเงินทอง ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติมากมาย การได้บริโภคซื้อของตามใจปรารถนา จะทำให้เรามีความสุขจริงหรือ พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วกลับมาอ่านชื่อหนังสือใหม่อีกครั้งทำให้รู้สึกว่าตั้งชื่อหนังสือเก่งจังทำให้เห็นภาพชัดเลย (นึกถึงกราฟพาราโบล่าคว่ำที่เรียนวิชาเรขาคณิตตอนเด็กๆ กราฟที่โค้งขึ้นเมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ววิถีโค้งก็ตกต่ำลง) หนังสือเล่มนี้ปกอาจจะดูเชยแต่เนื้อหาอ่านง่ายได้ข้อคิด เป็นการรวมเล่มจากวารสารฉลาดซื้อ สื่อเพื่อผู้บริโภค ที่พระไฟศาล เขียนประจำคอลัมภ์ ?อยู่ย้อนยุค? เป็นเวลา 8 ปี ( เคยเอาหนังสือเล่มนี้ไปให้แม่เพื่อนลูกอ่าน แม่จาบอกว่าเป็นหนังสือดีน่าอ่านมากค่ะ คุณแม่ท่านนั้นพอหยิบดูหน้าปกแล้วบอกว่า หนังสือดีแต่หน้าปกไม่ชวนให้หยิบอ่านเลย ก็จริงอย่างที่คุณแม่ท่านนั้นพูด แต่ถ้าเรามองข้ามเรื่องหน้าปกไปถึงเนื้อหาเชื่อว่าผู้อ่านจะได้อะไรดีๆเป็นข้อคิด) ขออนุญาตคัดลอกบทคำปรารภจากพระวิศาลมาให้อ่านกัน หากวัตถุเงินทองเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขอย่างแท้จริง ผู้คนทุกวันนี้ก็น่าจะมีความสุขมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ต้องเปรียบเทียบไกลไปถึงคนสมัยก่อนดอก แค่เปรียบกับตนเองเมื่อก่อนก็ได้ เห็นๆอยู่ว่า ทั้งๆที่มีเงินทองมากขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าเดิม แต่ผู้คนทุกวันนี้ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้รู้สึกเลยว่าตนมีความสุขเพิ่มขึ้นการดิ้นรนไขว่คว้าหาทรัพย์สินไม่หยุดหย่อนเป็นสิ่งบ่งบอกว่าผู้คนกำลังถูกความทุกข์ผลักไสหรือเผาลน หาใช่อาการของคนที่มีความสุขไม่ แม้ว่าการดิ้นไขว่คว้าหาทรัพย์สมบัติจะนำความทุกข์มาให้ และเมื่อได้แล้วก็ใช่ว่าความทุกข์จะหมดไป แต่การหยุดไล่ล่าหาทรัพย์สมบัติ ใช่ว่าจะทำได้ง่ายเนื่องจากความทุกข์อันได้แก่ความกระหายอยากนั้นคอยผลักไสเผาลนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องวิ่งหาทรัพย์สมบัติมาดับความกระหาย ซึ่งก็ระงับชั่วคราวเท่านั้น จากนั้นก็ต้องไล่ล่าต่อไป อาการเช่นนี้ไม่ต่างจากคนติดยาที่หายอยากต่อเมื่อได้เสพ แต่หลังจากเสพไปได้ไม่นานก็เกิดอยากขึ้นอีก แล้วก็ต้องเริ่มหายามาเสพใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป แม้อยากถอนตัวออกจากวัฏจักรอันชั่วร้ายดังกล่าว ก็ทำได้ยากอย่างยิ่งอาการเช่นนี้เห็นได้ชัดอย่างยิ่งในยุคบริโภค ปฏิเสธไม่ได้ว่าอิทธิพลของนักบริโภคนิยมทำให้ผู้คนถลำติดอยู่ในวัฏจักรดังกล่าวมากขึ้นทุกที มันไม่เพียงให้สัญญาแก่เราว่าความสุขเกิดขึ้นได้ไม่ยากหากซื้อสิ่งเสพมาปรนเปรอเท่านั้น หากมันยังมีเสน่ห์ตรงที่หยิบยื่นความหลากหลายและสะดวกสบายให้จนผู้คนเข้าใจว่านั่นคือเสรีภาพที่ชีวิตร้องการ ลึกลงไปกว่านั้น มันยังตอบสนองจิตส่วนลึกที่ต้องการความมั่นคง ปรารถนาที่พึ่งและสิ่งยึดเหนี่ยวท่ามกลางความไม่แน่นนอนของชีวิตและความไม่ยั่งยืนของตัวตน การเอาตัวตนไปผูกติดกับวัตถุซึ่งดูเหมือนยั่งยืนของตัวตน การเอาตัวตนไปผูกติดกับวัตถุซึ่งดูเหมือนยั่งยืนถาวรนั้นชวนให้สำคัญผิดไปว่าตัวตนของเราจะอยู่ยั่งยืนถาวรตามไปด้วย แม้นั่นจะเป็นมายาภาพ แต่ก็สามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้าหาบริโภคนิยม และทุ่มเทให้กับมันไม่ต่างจากศาสนิกผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา ลัทธิบริโภคนิยมได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตและโลกรอบตัวเราไปแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้จักและเท่าทันบริโภคนิยม อย่างน้อยก็เพื่อจะอยู่ได้ในโลกแห่งบริโภคนิยมได้อย่างมีความสุข และหากเป็นไปได้ก็ควรช่วยกันปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สังคมของเราเป็นอิสระจากบริโภคนิยมมากขึ้น ตลอดจนช่วยกันควบคุมกำกับบริโภคนิยมเพื่อให้เป็นโทษต่อชีวิตสังคมและธรรมชาติน้อยลง
Add as favourites (625) | Quote this article on your site
|