เรื่อง นินามิ นิชิอุจิ/ ภาพ เซอิจิ โฮริอุจิ/ แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า/ สำนักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก
*อนุบาลช้างเบิ้มให้อะไรแก่เด็ก ภาษา นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องของช้างตัวใหญ่กับสิ่งของที่ช้างเบิ้มทำขึ้นซึ่ง ?ใหญ่? สมตัวของช้างเบิ้ม ดังนั้นในเรื่องนี้เด็กๆจะเข้าใจคำคุณศัพท์ว่า?ใหญ่?ได้ลึกซึ้ง ซึ่งตรงนี้สามารถสอนให้เด็กรู้จักคำตรงข้ามกับ ?ใหญ่? คือ ?เล็ก? นอกจากนั้นยังเน้นการใช้ ?ลักษณะนาม? เป็นพิเศษ คือ ลักษณะนามของขนมปังเป็น ชิ้น/ รองเท้าข้างเดียวเรียก ข้าง 2 ข้างเรียก คู่ / เปียโน เรียก หลัง / เสื้อ เรียก ตัว / จานเรียก ใบ/ รถยนต์เรียก คัน
จินตนาการ การที่นิทานช้างเบิ้มตัวใหญ่เบ้อเริ่มเทิ้ม ทำสิ่งของต่างๆก็ใหญ่เบ้อเริ้มเทิ่ม แสดงถึงความเหนือจริงของนิทาน ถึงแม้จะอยู่บนพื้นฐานของชีวิตจริงก็ตาม
คณิตศาสตร์ เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องขนาดและนับจำนวนสิ่งของต่างๆ เช่น จำนวนร้านที่ช้างเบิ้มเข้าไปทำงานมีทั้งหมด 5 ร้าน จำนวนเด็กและเสื้อผ้าของคุณแม่บ้านมีทั้งหมด 12 ชุด เป็นต้น
สังคม ช้างเบิ้มได้ให้ความช่วยเหลือคุณแม่ซึ่งมีลูก 12 คน ได้อยู่ร่วมกับเด็กๆในโรงเรียนอนุบาลช้างเบิ้ม และได้เรียนรู้ส่วนประกอบของสังคม ในเรื่องนี้คืออาชีพต่างๆ กิจกรรมสร้างสรรค์ต่อเนื่องจากนิทานเรื่องอนุบาลช้างเบิ้ม กิจกรรมทำขนม จากร้านทำขนมปัง คุณครูสามารถชวนเด็กๆทำขนมชนิดอื่นๆ โดยสมมุติให้เด็กๆเป็นช้างเบิ้ม และช่วยเตรียมอุปกรณ์ทำขนมอย่างง่ายๆ
ศิลปะประดิษฐ์ จากร้านทำจาน ก็เตรียมจานกระดาษมาให้เด็กๆแต่งลวดลาย กิจกรรมงานบ้าน จากตอนที่คุณแม่บ้านกำลังทำงานบ้านในหนังสือ ก็ขักชวนให้เด็กๆได้ช่วยทำงานบ้านต่างๆ เช่น กวาด ถู เก็บของเล่น
ชวนอ่านเสร็จแล้วอย่ารอช้า ชวนเด็กมาทำรองเท้ากัน คลิกดูกิจกรรม ก๊วนชวนเล่น รองเท้าทำเอง ใส่เอง *บทวิเคราะห์การใช้หนังสือ อนุบาลช้างเบิ้ม คัดลอกจาก หนังสือเด็ก หนังสือดี ของสมาคมไทสร้างสรรค์
Add as favourites (650) | Quote this article on your site
|